Episodios

  • คุณสมบัติของอริยวงศ์ [6820-6t]
    May 16 2025

    ข้อที่ #26_กุหสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง ภิกษุที่มีคุณสมบัติ 4 อย่างเหล่านี้ นับว่าห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเจริญงอกงาม คือชอบหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่าอวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น


    ข้อที่ #27_สันตุฏฐิสูตร ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย 4 กล่าวถึง ปัจจัยสี่ที่มีคุณสมบัติ “มีค่าน้อย หาได้ง่าย ไม่มีโทษ” ความเป็นอยู่แบบนี้สบายเหมาะแก่ความเป็นสมณะ เมื่อทำประจำนับว่าเป็นธุดงควัตร สามารถไปไหนก็ได้เหมือนนกมีปีก


    *สันโดษ คือ พอใจตามมีตามได้ แต่ไม่ใช่ขี้เกียจ สันโดษป้องกันจิตไม่ให้ติดกับดักของความอยาก ให้ตั้งไว้ในอิทธิบาท 4 สามารถมีเป้าหมายได้ ส่วนมักน้อย หมายความว่าไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่าเรามีดีอะไร


    ข้อที่ #28_อริยวังสสูตร ว่าด้วยอริยวงศ์ กล่าวถึงการเอาปัจจัย 4 เป็นตัวแปรแล้วกล่าวสรรเสริญ ไม่แสวงหาด้วยเหตุอันไม่ควร ไม่ยกตนข่มท่าน เพราะเหตุความสันโดษนั้น


    ข้อที่ #29_ธัมมปทสูตร ว่าด้วยธรรมบท ธรรมที่ทำให้เป็นอริยวงศ์ คือ ความไม่เพ่งเล็ง ไม่พยาบาท มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ซึ่งก็มาจากข้อภาวนานั่นเอง เป็นเรื่องของทางใจ


    ข้อที่ #30_ปริพพาชกสูตร ว่าด้วยปริพาชก เมื่อมีคุณสมบัติความเป็นอริยวงศ์นั้นจะไม่มีใครคัดค้านได้ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้าง


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    57 m
  • พุทธกิจในตำบลอุรุเวลา [6819-6t]
    May 9 2025
    จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค หมวดว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลาข้อที่ #21_ปฐมอุรุเวลสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๑ เป็นการรำพึงของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ว่า ควรเคารพยำเกรงในสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหรือไม่ เพราะผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงสิ่งใดย่อมเป็นทุกข์ เมื่อใคร่ครวญแล้วไม่พบว่าสมณะใดมีความบริบูรณ์เท่า (ความบริบูรณ์ 4 อย่าง คือ ความบริบูรณ์แห่งสีลขันธ์, สมาธิขันธ์, ปัญญาขันธ์, วิมุตติขันธ์) จึงดำริที่จะเคารพในธรรมที่ตรัสรู้และเคารพในสงฆ์ที่มีคุณอันใหญ่ด้วย (หมู่พระอริยบุคคล) ท้าวสหมบดีพรหมที่คนยกย่องว่าเป็นผู้สร้างก็ยังเคารพธรรมนั้น*ในข้อนี้จะเห็นว่า การเอาเป็นที่เคารพนั้นมีความต่างกับการยึดติดยึดถือ เพราะถ้ายึดถือ ทุกข์จะอยู่ตรงนั้น ทำให้เสียหลักได้ข้อที่ #22_ทุติยอุรุเวลสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๒ พราหมณ์ได้มารุกรานถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ทำไมพระองค์จึงไม่ลุกขึ้นไหว้ ต้อนรับ เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้เป็นผู้ใหญ่” เพราะด้วยความไม่รู้ความเป็นเถระของพราหมณ์ พระพุทธเจ้าตอบพราหมณ์ว่า อย่างไรจึงเรียกว่าเถระ เถระไม่ได้ดูจากอายุเท่านั้น ธรรมที่ทำให้ชื่อว่าเถระมาจาก การมีศีล เป็นพหูสูตร ได้ฌานทั้ง 4 และเป็นอรหันต์*ตรงนี้ทำให้พุทธองค์เห็นว่า ธรรมนี้ยากที่สัตว์โลกจะรู้ตาม จึงขวนขวายน้อย ท้าวสหมบดีพรหมจึงมากล่าวอาราธนาให้แสดงธรรมข้อที่ #23_โลกสูตร ว่าด้วยโลก 4 นัยยะแห่งการเรียกว่า “ตถาคต” คือ 1. รอบรู้เรื่องโลก (ทุกข์) ในนัยยะของอริยสัจ 4 (กิจในอริยสัจ) 2. คำสอนตั้งแต่ตรัสรู้จนปรินิพพานล้วนลงกัน 3. กล่าวอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรกล่าวอย่างนั้น 4. เป็นผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้ในโลกข้อที่ #24_กาฬการามสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในกาฬการาม ความเป็นผู้คงที่ (ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม 8 ) ของพระพุทธเจ้านั้นปราณีตมาก ความไม่สำคัญ คือ ไม่สำคัญว่าได้... ว่าไม่ได้... ว่าต้องได้...ว่าเป็นผู้ได้... ไปใน 4 สถานะ (อายตนะภายนอก 6 ) เท่ากับไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามสิ่งที่รู้ คือ สักแต่ว่ารู้ จึงเหนือโลกข้อที่ #25_พรหมจริยสูตร ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ ...
    Más Menos
    56 m
  • สตรีผู้เป็นบัณฑิต [6818-6t]
    May 2 2025
    หญิงมาตุคาม (สตรี) ผู้อยู่ครองเรือน ที่ประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้ ย่อมหวังสุขได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ในข้อที่ 46-48 เป็นการปรารภถึง “เหล่าเทวดามนาปกายิกา” (เทวดาชั้นนิมมานรดี) ซึ่งเนรมิตกายได้ตามปรารถนา และมีเสียงดนตรีอันไพเราะที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องประดับ ซึ่งในแต่ละพระสูตรกล่าวถึงสถานที่และบุคคลที่แตกต่างกันออกไป โดยได้ยกถึงธรรม 8 ประการที่เป็นเหตุให้มาตุคามได้ความเป็นเทวดามนาปกายิกา ได้แก่ตื่นก่อนนอนทีหลัง ปฏิบัติรับใช้ให้เป็นที่พอใจ พูดคำไพเราะต่อสามีบูชา นับถือ เคารพ บุคคลที่สามีเคารพบูชาขยันไม่เกียจคร้าน จัดการดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อย (แม่เจ้าเรือน)รู้จักดูแลคนงานในบ้าน รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ไม่เล่นพนัน ไม่เป็นโขมย ไม่ล้างผลาญทรัพย์มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่ระลึกถึง)มีศีลห้าเป็นปกติมีใจปราศจากความตระหนี่ (จาคะ)ข้อที่ #46_อนุรุทธสูตร ว่าด้วยพระอนุรุทธะ ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี พระอนุรุทธะออกจากหลีกเร้น ได้เข้าไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ทำให้มาตุคามได้ไปเกิดเป็นเทวดามนาปกายิกา โดยได้ปรารภถึงเหล่าเทวดามนาปกายิกาที่ได้มาปรากฏตัวต่อพระอนุรุทธะ และได้แสดงความมีอำนาจในการเนรมิตกาย (วรรณะ) เสียง และความสุข ได้ตามความปรารถนา โดยพระผู้มีพระภาคได้แสดงธรรม 8 ประการที่มาตุคามปฏิบัติจะได้เข้าร่วมความเป็นเทวดามนาปกายิกาข้อที่ #47_ทุติยวิสาขาสูตร ว่าด้วยนางวิสาขา สูตรที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ตรัสแสดงธรรม 8 ประการนี้แก่ นางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถีข้อที่ #48_นกุลมาตาสูตร ว่าด้วยนกุลมาตาคหปตานี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ตรัสแสดงธรรม 8 ประการนี้แก่ นกุลมาตาคหปตานี ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคิระ ในข้อที่ #49_ปฐมอิธโลกิกสูตร และ #50_ทุติยอิธโลกิกสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๑-๒ ได้กล่าวถึงธรรมที่ให้สุขปัจจุบันและในโลกหน้าของหญิงมาตุคาม โดยแยกแสดง 4 ประการแรกที่ให้ผลในปัจุบัน ได้แก่จัดการงานดีสงเคราะห์คนข้างเคียง ...
    Más Menos
    58 m
  • อคติ - ความลำเอียง [6817-6t]
    Apr 25 2025

    ข้อที่ #15_ปัญญัตติสูตร ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ เป็นการบัญญัติ 4 สิ่งที่มีความเป็นเลิศในส่วนของตน นั่นคือพระราหูผู้มีอัตภาพใหญ่สุดในบรรดาสัตว์ พระเจ้ามันธาตุเลิศที่สุดในผู้เสพกาม เพราะสามารถเสพกามที่เป็นทั้งของมนุษย์และสวรรค์ ทั้งยังไม่มีความอิ่มในกามนั้น มารบุคคลผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้ครองโลก เพราะควบคุมผู้อื่นไว้ด้วยกาม และพระพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศในโลก เพราะอยู่เหนือกิเลสได้


    ข้อที่ #16_โสขุมมสูตร ว่าด้วยโสขุมมญาณ กล่าวถึงความละเอียดประณีต ความเชี่ยวชาญในญาณแต่ละขั้น ไล่ไปตั้งแต่รูปภพที่มีกาม อรูปภพที่มีเวทนาและสัญญา และที่ยิ่งขึ้นไปอีกคือแม้แต่สัญญาเวทนาก็ดับไป ยังคงมีแต่สังขาร นั่นคือสมาธิขั้นสูงสุดนั่นเอง เราจะสามารถพัฒนาให้มีญาณที่ละเอียดลงไปได้ก็ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลายความดับไปของสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสุขนั้น ถ้าเห็นโทษก็จะข้ามพ้นไปได้ ความละเอียดก็จะมากขึ้น


    ข้อที่ #17-20 ปฐม / ทุติย / ตติยอคติสูตร และภัตตุทเทสกสูตร โดยในแต่ละพระสูตรนั้นว่าด้วยเรื่องของ “อคติ 4” คือ ความลำเอียง 4 ประการ กล่าวถึงบุคคลย่อมเข้าถึงอคติหรือไม่เข้าถึงอคติ อคติ 4 ประการ ได้แก่

    1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)

    2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)

    3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)

    4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)


    “บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้นส่วนบุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์ ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น”


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    55 m
  • ศีลอุโบสถ [6816-6t]
    Apr 18 2025
    “อุโบสถ” หมายถึง กาลเป็นที่เข้าจำ (คือกาลเป็นที่เข้าไปอยู่โดยการถือศีล) และคำว่า “ศีลอุโบสถ” จึงหมายถึง การเข้าจำรักษาศีล 8 ของอุบาสกและอุบาสิกาในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำของทุกเดือน หรือที่เรียกกันว่า “รักษาอุโบสถศีล”ใน อุโปสถวรรค หมวดว่าด้วยอุโบสถ โดยพระสูตรที่ 41-45 คือใน 5 พระสูตรนี้ กล่าวถึงหลักธรรม 8 ประการที่เหมือนกัน ก็คือศีล 8 โดยปรารภคุณของพระอรหันต์ คือพระอรหันต์ย่อมละเว้นขาดจาก 1. การฆ่าสัตว์ 2. การลักทรัพย์3. เมถุนธรรม4. การพูดเท็จ5. เสพของมึนเมา6. การฉัน (บริโภค) ตอนกลางคืน7. การละเล่นและดูการละเล่น การประดับตกแต่งร่างกาย และเครื่องประทินผิว8. การนอนที่นอนสูงใหญ่แต่ละพระสูตรนั้นจะมีรายละเอียดในเรื่องของสถานที่ บุคคล และผลอานิสงส์ที่เหมือนและต่างกันออกไป *ศีล 8 แตกต่างจากศีล 5 คือ ศีล 8 เป็นศีลที่เป็นไปเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อการหลีกออกจากกาม แต่ศีล 5 ยังเกี่ยวเนื่องด้วยกามอยู่ข้อที่ #41_สังขิตตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยย่อ กล่าวถึง การรักษาศีล 8 ย่อมมีผลมีอานิสงส์มาก โดยตรัสกับภิกษุทั้งหลายที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีข้อที่ #42_ตถตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยพิสดาร โดยได้เปรียบเทียบอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 ไว้กับความสุขของมนุษย์ เช่น พระราชายังมีความสุขไม่ถึงเสี้ยวของผู้ที่รักษาศีล 8 โดยได้เปรียบเทียบสุขของมนุษย์ (เป็นของเล็กน้อย) ไว้กับสุขอันเป็นทิพย์ไว้ดังนี้• 50 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นจาตุมหาราช (มีอายุ 500 ปีทิพย์)• 100 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดาวดึงส์ (มีอายุ 1000 ปีทิพย์)• 200 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นยามา (มีอายุ 2,000 ปีทิพย์)• 400 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดุสิต (มีอายุ 4,000 ปีทิพย์)• 800 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นนิมมานรดี (มีอายุ 8,000 ปีทิพย์)• 1,600 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1วันของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (มีอายุ 16,000 ปีทิพย์)ในพระคาถาท้ายพระสูตรได้กล่าวถึงอานิสงส์ของผู้ที่รักษาอุโบสถศีล (ศีล 8) ว่า “ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์”...
    Más Menos
    58 m
  • บุคคลผู้มีศีล [6815-6t]
    Apr 11 2025
    ข้อที่ #11_จรสูตร ว่าด้วยอิริยาบถเดิน กล่าวถึงผู้ที่ปล่อยให้อกุศลวิตก 3 คือ ความคิดตริตรึกไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน (ตื่นอยู่) และไม่พยายามละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป กล่าวได้ว่า “ผู้นั้นเป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน” ส่วนผู้ใดพยายามละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ผู้นั้นเป็น “ผู้ปรารภความเพียร” *ข้อสังเกต แม้มีอกุศลวิตกเกิดขึ้น แต่ไม่เพลิน ไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอกุศล พยายามละ บรรเทาให้เบาบาง ถึงแม้ว่าจะทำอกุศลนั้นให้หมดสิ้นไปเลยยังไม่ได้ แต่ขึ้นชื่อว่า “เป็นผู้มีสติ ปรารภความเพียรอยู่” แม้ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดที่ไหนก็สามารถทำได้ข้อที่ #12_สีลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีศีล กล่าวถึงบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะ สำรวมระวัง มีความเพียรในการรักษาศีลให้เต็มบริบูรณ์ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน ก็ตาม สามารถที่จะทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐานทำให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิก็สามารถละนิวรณ์ 5 ได้ *ประเด็น ศีลบริบูรณ์ย่อมยังสมาธิให้บริบูรณ์ขึ้นมาได้ คือ สามารถทำสมาธิได้ในทุกอิริยาบถข้อที่ #13_ปธานสูตร ว่าด้วยสัมมัปปธาน “สัมมัปปธาน” คือ ความกล้าความเพียรที่ทำจริงแน่วแน่จริง แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ส่วนที่เป็นกุศล ถ้ายังไม่มีควรทำให้มี ที่มีอยู่แล้วให้ทำให้เจริญ และฝ่ายอกุศลที่มีอยู่เดิมให้ละ ที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามาข้อที่ #14_สังวรสูตร ว่าด้วยสังวรปธาน เป็นพระสูตรที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกับปธานสูตร เพราะกล่าวถึงวิธีในการละ ป้องกัน รักษา และทำให้เจริญ ไว้ดังนี้สังวรปธาน คือ การสำรวมอินทรีย์ไม่ให้อกุศลใหม่เข้ามา ปหานปธาน คือ เพียรด้วยการละ ภาวนาปธาน คือ การพัฒนาโพชฌงค์ 7 อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาสมาธินิมิตในการเห็นอสุภสัญญา เห็นอสุภแล้วยังรักษาสมาธิได้ นั่นคือรักษาได้พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Más Menos
    54 m
  • ห้วงแห่งบุญกุศล [6814-6t]
    Apr 4 2025

    ข้อที่ #38_ สัปปุริสสูตร ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ สัตบุรุษ (คนดี) ย่อมเกิดมาเพี่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก กล่าวคือเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา บุตรภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตรและอำมาตย์ (เพื่อนสนิท) ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว พระราชา เหล่าเทวดา และสมณพราหมณ์


    ข้อที่ #39_อภิสันทสูตร ว่าด้วยห้วงบุญกุศล "ห้วงบุญกุศล" ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล มีผัสสะใดมากระทบก็อารมณ์ดีได้เพราะจิตอยู่ในห้วงของบุญ เป็นลักษณะอารมณ์ของฌาน 2 (ปิติสุข) ห้วงบุญกุศล 8 ประการนี้ ได้แก่อะไรบ้าง คือ เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและเป็นผู้มีมหาทาน (คือ มีศีล 5)


    ข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ผลแห่งการกระทำที่ไม่ดี ทุจริต 8 ประการนี้ ย่อมมีผลทำให้เกิดในนรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย และส่งผลวิบากอย่างเบาซึ่งได้แก่ ผลจากการฆ่าสัตว์ - ทำให้เป็นผู้มีอายุน้อย, การลักทรัพย์ - ทำให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์, การประพฤติผิดในกาม - เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวร, การพูดเท็จ - ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง, การพูดส่อเสียด - แตกจากมิตร, การพูดหยาบคาย - ให้ได้ฟังเรื่องที่ไม่น่าพอใจ, การพูดเพ้อเจ้อ - มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือ, การดื่มสุราและเมรัย -ให้เป็นผู้วิกลจริต


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    57 m
  • บุคคลผู้ไปตามกระแส [6813-6t]
    Mar 28 2025

    ข้อที่ #5_อนุโสตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส กล่าวถึงการไปตามกระแสของตัณหาหรือไม่ ของบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ผู้ไปตามกระแส คือ ไปตามกามจนถึงทำบาปกรรม 2) ผู้ทวนกระแส คือบวชแล้ว และใช้ความพยายามอย่างมาก ในการหลีกออกจากกาม 3) ผู้มีภาวะตั้งมั่น หมายถึงอนาคามี และ 4๗ ผู้ข้ามพ้นฝั่ง คืออรหันต์


    ข้อที่ #6_อัปปัสสุตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย เอาคำว่ามีสุตะมากหรือน้อยกับการเข้าถึงหรือไม่เข้าถึงสุตะ ต่อให้คุณมีสุตะน้อย แต่ถ้ามีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือการเข้าถึงสุตะที่แท้จริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สามารถพัฒนาให้มีเพิ่มคู่กันไปได้


    ข้อที่ #7_โสภณสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม พูดถึงพุทธบริษัท 4 แต่ละประเภทที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำหมู่ให้งามได้ด้วยคุณธรรม ความเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม


    ข้อที่ #8_เวสารัชชสูตร ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า คือ ญาณอันเป็นเหตุให้แกล้วกล้าของพระพุทธเจ้า คือความมั่นใจว่าศัตรูหมดไปแล้วจริง ๆ ญาณเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ เพราะเมื่อมีแล้วจะไม่มีความประหม่าเกรงกลัวใด ๆ


    ข้อที่ #9_ตัณหุปปาทสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา ตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดเพราะปัจจัย 4 เป็นเหตุ


    ข้อที่ #10_โยคสูตร ว่าด้วยโยคะ คือ กิเลสที่ผูกมัดไว้ในภพ ได้แก่ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ การพรากจากโยคะจะเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    55 m
adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup