อคติ - ความลำเอียง [6817-6t] Podcast Por  arte de portada

อคติ - ความลำเอียง [6817-6t]

อคติ - ความลำเอียง [6817-6t]

Escúchala gratis

Ver detalles del espectáculo

Acerca de esta escucha

ข้อที่ #15_ปัญญัตติสูตร ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ เป็นการบัญญัติ 4 สิ่งที่มีความเป็นเลิศในส่วนของตน นั่นคือพระราหูผู้มีอัตภาพใหญ่สุดในบรรดาสัตว์ พระเจ้ามันธาตุเลิศที่สุดในผู้เสพกาม เพราะสามารถเสพกามที่เป็นทั้งของมนุษย์และสวรรค์ ทั้งยังไม่มีความอิ่มในกามนั้น มารบุคคลผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้ครองโลก เพราะควบคุมผู้อื่นไว้ด้วยกาม และพระพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศในโลก เพราะอยู่เหนือกิเลสได้


ข้อที่ #16_โสขุมมสูตร ว่าด้วยโสขุมมญาณ กล่าวถึงความละเอียดประณีต ความเชี่ยวชาญในญาณแต่ละขั้น ไล่ไปตั้งแต่รูปภพที่มีกาม อรูปภพที่มีเวทนาและสัญญา และที่ยิ่งขึ้นไปอีกคือแม้แต่สัญญาเวทนาก็ดับไป ยังคงมีแต่สังขาร นั่นคือสมาธิขั้นสูงสุดนั่นเอง เราจะสามารถพัฒนาให้มีญาณที่ละเอียดลงไปได้ก็ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลายความดับไปของสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสุขนั้น ถ้าเห็นโทษก็จะข้ามพ้นไปได้ ความละเอียดก็จะมากขึ้น


ข้อที่ #17-20 ปฐม / ทุติย / ตติยอคติสูตร และภัตตุทเทสกสูตร โดยในแต่ละพระสูตรนั้นว่าด้วยเรื่องของ “อคติ 4” คือ ความลำเอียง 4 ประการ กล่าวถึงบุคคลย่อมเข้าถึงอคติหรือไม่เข้าถึงอคติ อคติ 4 ประการ ได้แก่

1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)

2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)

3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)

4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)


“บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้นส่วนบุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์ ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น”


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup
Todavía no hay opiniones