จิตปรุงแต่งภาพและเสียง [6817-1u] Podcast Por  arte de portada

จิตปรุงแต่งภาพและเสียง [6817-1u]

จิตปรุงแต่งภาพและเสียง [6817-1u]

Escúchala gratis

Ver detalles del espectáculo

Acerca de esta escucha

ช่วงไต่ตามทาง: ผู้ฟังท่านนี้ปฏิบัติธรรมแล้วมีอาการได้ยินเสียงในหัวอยู่ตลอด แต่คนอื่นไม่ได้ยิน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่พยายามอยู่กับอาการนี้ให้ได้ โดยปรับกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตใหม่เพื่อรักษาจิต เวลาได้ยินเสียงอะไรก็จะไม่ส่งจิตตามไป ซึ่งควบคุมได้บ้าง ไม่ได้บ้างต้องทำความเข้าใจอริยสัจสี่ เข้าใจเรื่องทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพื่อให้อยู่กับทุกข์ได้ โดยไม่ทุกข์ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : ภาพและเสียงในหัวภาพหรือเสียงที่ผ่านเข้ามาทางตา ทางหู เข้าสู่จิตใจ จิตจะเข้าไปเกลือกกลั้วในอารมณ์นั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ามี "สติ" เป็นเครื่องป้องกันหรือไม่ เสียงในหัวไม่ต่างจากเสียงที่ได้ยินจริง ๆ เช่น คำด่า ถ้าเราโกรธไปตามคำด่านั้น เราจะเป็นบ้า เพราะนั่นเป็นแค่เสียง ความโกรธที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้เราผ่านทางคำด่านั้น ถ้าเราไม่รับเอามา ความโกรธก็จะเป็นของเขาอยู่นั่นเอง"ธัมมารมณ์" เกิดจากการปรุงแต่งของจิต อาจเกิดจาก1. การปรุงแต่งที่เป็นญาณทัศนะจริง ๆ 2. การปรุงแต่งของอาสวะกิเลส3. การปรุงแต่งจากสิ่งภายนอกมากระทบภาพหรือเสียงในหัว ที่เกิดเป็นธัมมารมณ์นั้น ต้องแยกแยะให้ได้ว่า เกิดจากการปรุงแต่งของจิตแบบใด ถ้ายังแยกแยะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งตามอารมณ์นั้นไป เพราะอาจเป็นกับดักของมารได้ จะทำให้เป็นบ้าไปตามอำนาจของราคะ โทสะ โมหะได้ เช่น ภาพหรือเสียงในหัวนั้นเป็นธัมมารมณ์ที่เกิดจากกิเลส แต่คิดไปว่าเกิดจากญาณทัศนะ แล้วเชื่อตามนั้น ตามอารมณ์นั้นไป เกิดปัญหาคิดว่าตนรู้วาระจิตผู้อื่น มีเจโตปริยญาณ หรือเข้าใจว่าตนบรรลุธรรมขั้นสูง“สติ” ที่มีกำลัง จะสามารถแยกแยะได้ว่าธัมมารมณ์นั้น เกิดจากการปรุงแต่งของจิตแบบใดเครื่องป้องกันรักษาจิตไม่ให้บ้าไปตามอำนาจราคะ โทสะ โมหะ คือ 1. การรักษาศีล 2. การฝึกสติเกิดผลเป็นสมาธิ ทำให้จิตไม่บ้าไปตามอำนาจราคะ โทสะ โมหะ ชั่วระยะเวลาที่สตินั้นดำรงอยู่ พลังสติเพิ่มขึ้นได้ เช่น ไม่คุยฟุ้ง หลีกเร้น ไม่ยินดีในการหลับใหลแต่ประกอบด้วยธรรมะอันเป็นเครื่องตื่น รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ กินนอนให้เป็นการภาวนา กาย ...
adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup
Todavía no hay opiniones