ธรรมสมาธิ 5 ประการ [6821-3d] Podcast Por  arte de portada

ธรรมสมาธิ 5 ประการ [6821-3d]

ธรรมสมาธิ 5 ประการ [6821-3d]

Escúchala gratis

Ver detalles del espectáculo

Acerca de esta escucha

“ธรรมสมาธิ” คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เป็นธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง และกำจัดความสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดความมั่นสนิทในธรรมแล้ว ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตตามมา ธรรมสมาธิมี 5 ประการ คือ1) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ความร่าเริงสดใส เป็นความชื่นบานใจในธรรม ความร่าเริงสดใสในธรรม เป็นปราโมทย์ที่ไม่อาศัยอามิส2) ปีติ คือความอิ่มใจ ความปลื้มใจ เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติธรรม มี 5 ระดับ คือ ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ และผรณาปีติ 3) ปัสสัทธิ ความสงบระงับภายใน ความสงบเย็นกายเย็นใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย ไม่มีความเดือดร้อนกระวนกระวายใจมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจ 4) โสมนัส ความสุข ความสบาย ความรื่นใจไร้ความข้องขัด ปราศจากความทุกข์ร้อนใด ๆ ที่จะมารบกวนขัดขวางให้ไม่อยากปฏิบัติธรรม มีแต่ความสุขสบายกายและใจ ยินดีในการปฏิบัติธรรม5) สมาธิ ความสงบตั้งมั่นของจิต ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่วอกแวก ไม่มีอารมณ์ภายนอกมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจธรรมทั้ง 5 ประการนี้ เป็นกระบวนการที่เป็นส่วนสนับสนุนให้บุคคลเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรม มีความแช่มชื่นยินดีในการปฏิบัติธรรมให้เกิดผลสำเร็จ เป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ ธรรมสมาธิ 5 ประการนี้ จะเกิดขึ้นต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ การใคร่ควรโดยแยบคาย ซึ่งมีอยู่หลายแนวทาง ในตอนนี้จะยกเอาแนววิธีการที่ท่านพระอนุรุทธะได้ทำไว้มากล่าว และพระพุทธเจ้าทรงเรียกแนวทางนี้ว่า มหาปุริสวิตก 8 ประการ ได้แก่ธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มักน้อย มิใช่ของผู้มักมากธรรมคำสอนนี้สำหรับของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้านธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืมธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีจิตมั่นคงเป็นสมาธิ ...
adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup
Todavía no hay opiniones